26/7/56

10 ประเทศอาเซียน

ประเทศมาเลเซีย  Malaysia


ประเทศมาเลเซีย : Malaysia
มาเลเซียเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียนเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร ประกอบด้วยดินแดนสองส่วน คือ มาเลเซียตะวันตก ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ประกอบด้วย 11 รัฐ คือ ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ เประ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง เกดะห์และปะลิส มาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว (กาลิมันตัน) ประกอบด้วย 2 รัฐ คือ ซาบาห์และซาราวัก นอกจากนี้ ยังมีเขตการปกครองภายใต้สหพันธรัฐ อีก 3 เขต คือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง) เมืองปุตราจายา (เมืองราชการ) และเกาะลาบวน
มาเลเซียมุ่งเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2563 หรือ (Vision 2020) และมีแผนพัฒนาต่อเนื่อง (Mission 2057) เป็นแนวทางพัฒนาประเทศจนถึงปี 2600 มีบทบาทสำคัญในองค์การการประชุมอิสลาม
(OIC) และต้องการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้าของ OIC ภายในปี2552 โดยใช้ศักยภาพด้านการบริหารธนาคารอิสลาม และอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ในปี 2550 นักท่องเที่ยวมาเลเซียมาไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง และเป็นคู่ค้าสำคัญของไทยในอาเซียน
พื้นที่
พื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร ( ประมาณ 64% ของไทย)
ประชากร
ประชากร 28.9 ล้านคน (2553)
ภาษา
มาเลย์ เป็นภาษาราชการ
ศาสนา
อิสลาม (ร้อยละ 60) พุทธ (ร้อยละ 19) คริสต์ (ร้อยละ 12)
วันชาติ
วันที่ 31 สิงหาคม
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย 31 สิงหาคม พ.ศ. 2500 
อากาศ
มีอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร อยู่ในอิทธิพลของลมมรสุม

เมืองหลวง  กรุงกัวลาลัมเปอร์


ตราแผ่นดินของประเทศมาเลเซีย


ธงชาติของประเทศมาเลเซีย

ผู้นำประเทศมาเลเซีย นาจิบ อับดุล ราซัก ประธานาธิบดีมาเลเซีย


สกุลเงิน ริงกิต
 

อาหารประจำประเทศมาเลเซีย นาซิ เลอมัก

ชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย

สำหรับชุดของผู้ชาย เรียกว่า Baju Melayu (บาจู มลายู) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหม ผ้าฝ้ายหรือโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของผ้าฝ้ายส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า Baju Kurung (บาจูกุรุง) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาวและกระโปรงยาว

ดอกไม้ประจำประเทศมาเลเซีย
Hibiscus หรือ ชบา


การเมือง การปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ปัจจุบันประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐประมุขแห่งรัฐมีตำแหน่งเป็นสมเด็จพระราชาธิบดี อยู่ในตำแหน่งคราวละ5 ปี นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลสหพันธรัฐ และมุขมนตรีแห่งรัฐ
เป็นหัวหน้ารัฐบาลแห่งรัฐ
ประมุข สมเด็จพระราชาธิบดีอัลวาทิก ตวนกู มิซาน ไซนัล อิบนี อัลมาร์ฮุม สุลต่านมะห์มูด อัลมุกดาฟี บิลลาห์ ซาห์ สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 13 (His Majesty Al-Wathiqu Billah Tuanku Mizan Zainal Abidin ibni Al-Marhum Sultan Mahmud Al-Muktafi Billah Shah)
ผู้นำรัฐบาล ดาโต๊ะ ซรี มูห์ฮัมหมัด นาจิบ บิน ตุน อับดุล ราซัก (Dato? Sri Mohd Najib bin Tun Abdul Razak)
รัฐมนตรีต่างประเทศ ดาโต๊ะ ซรี อานิฟาห์ บิน ฮัจญี อามาน (Dato? Sri Anifah bin Haji Aman)
ระบอบการปกครอง สหพันธรัฐ โดมีสมเด็จพระราชาธิบดี (Yang di-Pertuan Agong) เป็นประมุข ซึ่งมาจากการเลือกตั้งเจ้าผู้ปกครองรัฐ 9 แห่ง (ยะโฮร์ ตรังกานู ปะหัง สลังงอร์ เกดะห์ กลันตัน เนกรีเซมบิลัน เประและปะลิส) และผลัดเปลี่ยนหมุดเวียนกันขึ้นดำรงตำแหน่ง วาระละ 5 ปี โดมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลสหพันธรัฐ และมุขมนตรีแห่งรัฐ (Menteri Besar ในกรณีที่มีเจ้าผู้ปกครองรัฐ หรือ Chief Minister ในกรณีที่ไม่มีเจ้าผู้ปกครองรัฐ) เป็นหัวหน้ารัฐบาลแห่งรัฐ
เขตการปกครอง มาเลเซียแบ่งเขตการปกครองเป็น 13 รัฐ ได้แก่ ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ เประ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง เกดะห์ ปะลิส ซาบาห์และซาราวัก และ 3 ดินแดนสหพันธ์ ได้แก่ กรุงกัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง) เมืองปุตราจายา (เมืองราชการ) และเกาะลาบวน
ข้อมูลเศรษฐกิจ
การเพาะปลูก เป็นประเทศที่ผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก และข้าวเจ้าปลูกมากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้ง 2 ด้าน
ผลิตภัณฑ์ส่งออกที่สำคัญ
อุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติเหลวปิโตรเลียม เฟอร์นิเจอร์ ยาง น้ำมันปาล์ม
ผลิตภัณฑ์นำเข้าที่สำคัญ
ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม สินค้าแปรรูป สินค้าอาหาร
ตลาดส่งออกที่สำคัญ
สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน ไทย ฮ่องกง
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน ไทย




10 ประเทศอาเซียน

อินโดนีเซีย    INDONESIA

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย : Republic of Indonesia
อินโดนีเซีย เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียน เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510

ข้อมูลทั่วไป
มีชื่อเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก ที่ตั้ง ทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันออกติดกับติมอร์-เลสเต และปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดกับทะเลติมอร์ มีทรัพยากรธรรมชาติมาก (น้ำมัน ถ่านหินทองคำ สัตว์น้ำ) เป็นแหล่งประมงที่ใหญ่ที่สุดของไทย มีบทบาทสูงในกลุ่มNAM และ OIC
พื้นที่
พื้นที่ พื้นที่ทางบก 1,904,443 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ทางทะเล 3,166,163 ตารางกิโลเมตร (รวมพื้นที่ทั้งหมด 5,070,606 ตารางกิโลเมตร)

ประชากร
ประชากร 243 ล้านคน (2553)

ภาษา
ภาษาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) เป็นภาษาราชการ

ศาสนา
อิสลาม (ร้อยละ 88) คริสต์ (ร้อยละ 8) ฮินดู (ร้อยละ 2) พุทธ (ร้อยละ1) ศาสนาอื่นๆ (ร้อยละ1)

วันชาติ
วันที่ 17 สิงหาคม

วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
วันที่ 7 มีนาคม 2493

อากาศ
แบบป่าฝนเขตร้อน มี 2 ฤดูคือ ฤดูแล้งและฤดูฝน อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง21 – 33 องศาเซลเซียส


เมืองหลวง กรุงจาการ์ตา


ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย  




ธงชาติสาธารณรัฐอินโดนีเซีย


ผู้นำ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย  ดร.ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน  ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย

สกุลเงิน รูเปียห์

อาหารประจำ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย  กาโด กาโด

ชุดประจำชาติของ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 เคบาย่า เป็นชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซียสำหรับผู้หญิง มีลักษณะเป็นเสื้อแขนยาว ผ่าหน้า กลัดกระดุม ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ ส่วนผ้าถุงที่ใช้จะเป็นผ้าถุงแบบบาติก สำหรับการแต่งกายของผู้ชายมักจะสวมใส่เสื้อแบบบาติกและนุ่งกางเกงขายาว และนุ่งโสร่งเมื่ออยู่บ้านหรือประกอบพิธีละหมาดที่มัสยิด
 


ดอกไม้ประจำ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย Moon Orchid (กล้วยไม้ราตรี)

การเมือง การปกครอง
ระบอบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นผู้นำของประเทศ (วาระการบริหารประเทศ 5 ปี และต่อได้อีก 1 วาระ) มีการแบ่งอำนาจระหว่างประธานาธิบดีและสภาผู้แทนราษฎรและเป็นการปกครองในระบบสาธารณรัฐแบบ Unitary Republic ซึ่งมีการปกครองตนเองในบางพื้นที่ (provincial autonomy)
ประมุข ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ ดร. ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน
ผู้นำรัฐบาล (Dr. Susilo Bambang Yudhoyono) ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2552 (สมัยที่ 2)
รัฐมนตรีต่างประเทศ ดร. อาร์ เอ็ม มาร์ตี้ มูเลียนา นาตาเลกาวา
(Dr. R. M. Marty Muliana Natalegawa) ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2552
ระบอบการปกครอง ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร (ดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2552
เขตการปกครอง30 จังหวัด และเขตการปกครองพิเศษ 4 เขต ได้แก่ กรุงจาการ์ตา เมืองยอกยาการ์ตา จังหวัดอาเจห์ และ จังหวัดปาปัวและปาปัวตะวันตก 

ข้อมูลเศรษฐกิจ
อินโดนีเซียมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศคิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 10,349.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยประเทศผู้ลงทุนที่สำคัญในอินโดนีเซีย 10 อันดับแรก เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการลงทุน คือ
สิงคโปร์ อังกฤษ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ซีเชล เมอริเชียส มาเลเซีย ออสเตรเลีย และบราซิล ไทยเป็นประเทศผู้ลงทุนอันดับที่ 15ของอินโดนีเซีย มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ใน 6 โครงการ
ทรัพยากรสำคัญ
น้ำมัน ถ่านหิน สัตว์น้ำ
อุตสาหกรรมหลัก
น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ เสื้อผ้า รองเท้า เหมืองแร่
ผลิตภัณฑ์นำเข้าที่สำคัญ
น้ำมัน เหล็ก ท่อเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สิ่งทอ เคมีภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ส่งออกที่สำคัญ
ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุ ถ่านหิน ผลิตภัณฑ์จากไม้ สิ่งทอ
ตลาดส่งออกที่สำคัญ
สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา

ที่มา http://web1.dara.ac.th/daraasean/I/Country/Indonesia/Indonesia.html

เรียนรู้อาเซียนผ่านสื่อวิดีโอ











ภาษาในประเทศอาเซียน

กัมพูชา

ลาว


พม่า