15/6/56

ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน




ก่อนอื่นเรามารู้จัอาเซียนกันก่อนว่า คือ อะไร
    

            อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
หรือที่เรียกสั้นๆว่า "อาเซียน"(ASEAN) ชื่อที่เป็นทางการในภาษาอังกฤษของอาเซียนว่า"Association of Southeast Asian Nations" เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Deciaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ณ วังสราญรมย์  ในขณะนี้มีประเทศสมาชิกรวม 10 ประเทศ ซึ่งมีการแบ่งดังนี้
           1.แบ่งตามประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไน
           2.ประเทศสมาชิกอาเซียนที่เพิ่มใหม่อีก 4 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม หรือเรียกกลุ่มสั้นๆว่า CLMV




ความสำคัญและบทบาท

            อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรก เพื่อสร้างสันติภาพ ความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมให้มีความแข็งแกร่งขึ้น และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีเเนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับ และขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น อย่างไรก็ตามก็ยังคงไว้ ซึ่งวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการดังต่อไปนี้
  • ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในภูมิภาค
  • รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในภูมิภาค
  • ใชเเป็นเวทีแก้ไขปัญหาความร่วมมือความขัดแย้งภายในภูมิประเทศ
            ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่ลงนามในปฏิญญากรุงเทพฯ ดังกล่าวข้างต้น รัฐมนตรีต่างประเทศของทั้ง 6 ประเทศได้หารือกันเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการจัดตั้งสมาคมอาเซียนและยกร่างปฏิญญากรุงเทพฯ ที่แหลมแท่ จังหวัดชลบุรี โดยปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
     1.ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี
           วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
      2.  ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
      3.  เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
      4.  ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
      5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
      6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
      7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ  
          และองค์การระหว่างประเทศ

           นับตั้งแต่วันก่อตั้งอาเซียนได้พยายามแสดงบทบาทในการธำรงรักษาและส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคงและความเจริญร่วมกันในภูมิภาค ตลอดจนมีวิวัฒนาการ อย่างต่อเนื่องในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิก ตลอดจนพัฒนาการในเรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคม จนเป็นที่ประจักษ์แก่นานาประเทศ และนำไปสู่การขยายสมาชิกภาพโดยเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 7 เมื่อปี 2538 และในปี 2540 ลาวและพม่า เข้าเป็นสมาชิกพร้อมกันและกัมพูชาเข้าสมาชิกล่าสุดเมื่อปี 2542 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกรวมทั้งหมด 10 ประเทศ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน

            เมื่อทุกคนค่อยๆ ศึกษาก็จะเริ่มเข้าใจและอยากเรียนรู้มากขึ้น ซึ่งต้องเปิดใจยอมรับในสิ่งที่จะต้องก้างมาเยือน โดยอีกสิ่งหนึ่งที่ทุกคนควรทราบก็คือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานของอาเซียน ได้แก่

  1. สำนักเลขาธิการอาเซียน หรือ ASEAN Secretariat ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นศูนย์กลางการติดต่อระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีเลขาธิการอาเซียน(ASEAN Secretary-General) เป็นหัวหน้าสำนักงาน ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบันเป็นคนเวียดนาม คือ เล เลือง มินห์ ซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ค.ศ.2013-2018)
  2. สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือ ASEAN National Secretariat เป็นหน่วยงานระดักรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน มีหน้าที่ประสานกิจการอาเซียนในประเทศนั้นและติดตามผลการดำเนินงาน สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ


การก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

            ในอนาคตอันใกล้นี้อาเซียนมีเป้าหมายจะรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจภายในปี 2558 โดมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้น
            ทั้งนี้มีหลายคนอาจสับสนหรือสงสัยว่าทำไมจึงต้องจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้วย ซึ่งนับเป็นคำถามที่ดี เพราะนั่นย่อมแสดงว่าคุณได้มีความสนใจ และเริ่มหันมาใส่ใจกับความเป็นมาของอาเซียนมากยิ่งขึ้น ส่วนสาเหตุที่ว่าทำไมต้องก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้วยนั้น ก็เพราะกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศดังที่กล่าวแล้วข้างต้นนั้นจำเป็นต้องเร่งรัดการรวมกลุ่ม เพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาการดำเนินงานความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียนมีความคืบหน้ามาตามลำดับไม่ว่าจะเป็นการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2535 การเจรจาเพื่อเปิดตลาดการค้าบริการและการลงทุนในภูมิภาคจนถึงปัจจุบัน ผู้นำอาเซียได้มุ่งให้ความสำคัญกับการดำเนินการเพื่อนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 (ค.ศ.2015) ซึ่งเร็วกว่ากำหนดการเดิมที่ผู้นำอาเซียนเคยประกาศแสดงเจตนารมณ์ไว้ตามแถลงการณ์บาหลีถึง 5 ปี
             ประชาคมอาเซียน(ASEAN Community : AC) ประกอบไปด้วย 3 เสาหลัก คือ
  • ประชาคมความมั่นคงอาเซียน
  • ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
  • ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

            ซึ่งทั้ง 3 เสาหลักต่างมีกฎบัตรอาเซียน(ASEAN Charter) เป็นกรอบหรือพื้นฐานทางกฎหมายรองรับ ซึ่งจะสร้างกฎเกณฑ์สำหรับองค์กรอาเซียนให้สมาชิกมีพันธกิจที่จะต้องปฏิบัติตาม (Legal Binding)
            ทั้งนี้ภายในปี 2558 ในส่วนของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเป็นเสาหลักที่จะเป็นพลังขับเคลื่อนให้เกิดการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน เพื่อนำไปสู่การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน และจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า การบริการ การลงทุน เงินลงทุน รวมถึงแรงงานฝีมืออย่างเสรี
            รวมทั้งผู้บริโภคสามารถเลือกสรรสินค้าบริการได้อย่างหลากหลายภายในภูมิภาค และสามารถเดินทางในอาเซียนได้อย่างสะดวกและเสรีมากขึ้น ซึ่งนับเป็นความท้าทายที่สำคัญของอาเซียนที่จะต้องร่วมใจและช่วยกันนำพาอาเซียนไปสู่เป้าหมายที่ตั้งใจด้วยการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อไปนั่นเอง


ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)



เป้าหมายสำคัญของการเป็น AEC

            การที่อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) อาเซียนได้จัดทำแผนงานใน
เชิงบูรณาการในด้านเศรษฐกิจต่างๆ หรือพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 เรื่อง ดังนี้
  1.  การเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วม - ให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมือย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
  2. การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจอาเซียน - การสร้างความสามารถในด้านต่างๆ เช่น นโยบายการแข่งขัน สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ)
  3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค - การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของสมาชิก และลดช่องว่างของระดับการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่า และใหม่ เช่น การสนับสนุนการพัฒนา SMEs
  4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก - การร่วมกลุ่มเข้ากับประชาคมโลก โดยเน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค เช่น การจัดทำเขตการค้าเสรี และการสร้างเครือข่ายในด้านการผลิต/จำหน่าย เป็นต้น


ผลผูกพันต่อประเทศไทยในการรวมตัวเป็น AEC

  1. การเปิดเสรีการค้าสินค้า ภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement : ATIGA)

มาตรการด้านภาษี อาเซียนมีเป้าหมายที่จะต้องดำเนินการยกเลิกภาษีสินค้าสำหรับกลุ่มอาเซียน 6 ภายในปี 2553 (ค.ศ. 2010) และสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ (CLMV) ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ซึ่งไทยได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว ตั้งแต่ปี 2553 ดังนั้นสามารถกล่าวได้การรวมตัวกันเป็น AEC จึงไม่ทำให้ไทยต้องลดภาษีสินค้าใดๆ เพิ่มเติมอีกโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมในปี 2558

มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) อาเซียนได้กำหนดให้ประเทศสมาชิกมีการลดมาตรการ NTMs โดยได้ไทยได้ผูกพันการยกเลิกมาตรการ NTMs ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมาตรการโควต้าภาษีของสินค้าเกษตร 3 ชุด โดยต้องยกเลิกมาตการโควต้าในปี 2551 2552 และ 2553 ในขณะนี้ประเทศไทยได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้วเกือบทั้งหมด ยังขาดเพียงแต่ ข้าว ที่กำลังอยู่ระหว่างการหารือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการหาแนวทางและมาตรการป้องกันปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อมีการยกเลิกมาตการดังกล่าว
      2. การเปิดเสรีการค้าบริการ โดยเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนอาเซียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70                      ภายในปี 2553 ในสาขาบริการสำคัญ (Priority Integration Sector) ได้แก่ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาสุขภาพ และสาขาการท่องเที่ยว ภายในปี 2556 ในสาขาโลจิสติกส์ และภายในปี 2558 ในสาขาบริการอื่น ๆ ทุกสาขา ทั้งนี้ สามารถยกเว้นสาขาที่อ่อนไหวได้
    3. การเปิดเสรีการลงทุน ในสาขาอุตสาหกรรมที่ตกลงกันและการให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ
    4.การเปิดเสรีด้านเงินทุนเคลื่อนย้าย จะเปิดเสรียิ่งขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยให้สมาชิกมีมาตรการปกป้องที่เพียงพอเพื่อรองรับผลกระทบ
   5.การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี โดยให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของแต่ละประเทศ
   6. การดำเนินการตามความร่วมมือรายสาขาอื่น ๆ เช่น ความร่วมมือด้านเหมืองแร่ ความร่วมมือด้าน SMEs การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน (คมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ พลังงาน) เป็นต้น


ความเกี่ยวข้องและบทบาทของกระทรวงอุตสาหกรรมในบริบทของ AEC

  1. สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้เข้าร่วมในการเจรจา/เสนอแนะท่าทีเพื่อกำหนดระยะเวลาในการลดภาษี และกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าที่เหมาะสมในการเปิดเสรีสินค้าอุตสาหกรรม รวมทั้ง เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (ASEAN Industrial Cooperation Scheme) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของอาเซียน และสนับสนุนการแบ่งผลิตและการใช้วัตถุดิบในภูมิภาค
  2. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นหน่วยงานหลักฝ่ายไทย ซึ่งรับผิดชอบในการอำนวยความสะดวกด้านการค้า ลดอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Technical Barriers to Trade: TBT) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
  3. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) เป็นหน่วยงานหลักฝ่ายไทยที่รับผิดชอบเรื่องการเปิดเสรีสาขาการลงทุน
  4. กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) รับผิดชอบความร่วมมือด้านแร่ธาตุของอาเซียน
  5. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เป็นผู้แทนไทยเข้าร่วมกำหนดแผนงานความร่วมมือและดำเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของอาเซียน


ผลกระทบของ AEC และการปรับตัวของอุตสาหกรรมไทย

ผลกระทบเชิงบวก
  1. การลดและยกเลิกมาตรการทางภาษีในปี 2553 เป็นร้อยละ 0 ทั้งหมดยกเว้นรายการสินค้าอ่อนไหวและอ่อนไหวมาก (Sensitive and Highly Sensitive) ของกลุ่มอาเซียน 6 รวมทั้งประเทศไทย และ 2558 สำหรับกลุ่ม CLMV เป็นการอุปสรรคทางการค้าและส่งเสริมให้อาเซียนเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ เป็นการเพิ่มโอกาสในการส่งออกของไทย โดยตลาดอาเซียนเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย ทั้งนี้ ในปี 2553 มูลค่าการค้าของไทยกับอาเซียนมีจำนวน 2.37 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 22.7 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของไทย (เพิ่มจากร้อยละ 20 ในปี 2552)
  2. ต้นทุนในการผลิตของไทยต่ำลง สามารถนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางที่ใช้ในการผลิต ได้ในราคาที่ถูกลง
  3. เป็นการสร้างเสริมโอกาสการลงทุนเมื่อประเทศอาเซียนมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนได้เสรีมากยิ่งขึ้น
  4.  เพิ่มพูนขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทย เมื่อมีการใช้ทรัพยากรการผลิตร่วมกัน/เป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกับอาเซียนอื่น ๆ
  5.  เพิ่มอำนาจการต่อรองของไทยในเวทีการค้าโลก


ผลกระทบเชิงลบ

  1.  สินค้าของประเทศอาเซียนอื่นเข้าสู่ตลาดไทยได้โดยไม่มีภาระภาษี ทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องแข่งขันมากขึ้น แต่ที่ผ่านมาไทยกลับมีมูลค่าการส่งออกไปยังอาเซียนสูงกว่าการนำเข้าจากอาเซียน
  2. ในด้านการลงทุน หากประเทศไทยไม่มีการพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน (Infrastructure) ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงาน (Labor productivity) และไม่มีการปรับปรุงกฎระเบียบกฎหมายให้มีความทันสมัยไม่เป็นอุปสรรคต่อนักลงทุน อาจทำให้มีการย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทยไปยังประเทศอื่นๆ ใน ASEAN ที่เหมาะสมกว่า
  3.  การเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรี อาจทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของแรงงานมีฝีมือของไทยไปประเทศที่ให้ค่าตอบแทนสูงกว่า เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน และต้องจ้างแรงงานต่างด้าวจากประเทศที่ค่าแรงถูกกว่าเข้ามา อาจก่อปัญหาด้านสังคม และเนื่องจากทิศทางนโยบายของไทยคือ การเป็น “รัฐสวัสดิการ” ทำให้งบประมาณของรัฐส่วนหนึ่งจะไปเป็นสวัสดิการของแรงงานต่างด้าว
  4. ตลาดสินค้าในประเทศ (Domestic Market) หากตลาดภายในของไทยยังไม่มีกลไกในการป้องกันไม่ให้สินค้าคุณภาพต่ำกว่าที่ผลิตได้ในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นเข้ามาขายในประเทศมากขึ้น ก็จะทำให้นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยที่มีเป้าหมายในการพัฒนาในอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพสูงขึ้นอาจเกิดปัญหาอุปสรรคได้ เนื่องจากไม่มีตลาดภายในประเทศรองรับ รวมทั้งอาจส่งผลทางจิตวิทยาแก่ผู้ประกอบการไทยในการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตได้


ภาคอุตสาหกรรมไทยจำเป็นต้องมีการปรับตัวดังนี้


  1.   การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ทั้งในด้านแรงงาน เทคโนโลยี รวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการในตลาดโลก เพื่อที่จะสามารถแข่งขันได้
  2. การเตรียมความพร้อมด้านสาธารณูปโภคและระบบโลจิสติกส์เพื่อรองรับการลงทุนจากต่างประเทศ
  3. หาตลาดส่งออก ปรับปรุงการผลิตให้สามารถปฏิบัติตามกฎถิ่นกำเนิดสินค้าของอาเซียนได้ รวมถึงการบริหารจัดการ การจัดหาวัตถุดิบราคาถูกและมีคุณภาพดีในภูมิภาค
  4. การปรับปรุงโครงสร้างภาษีของไทยทั้งระบบเพื่อให้เอื้อประโยชน์แก่ผู้ประกอบการไทย
  5. ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายการผลิต (Production Network) เพื่อให้สามารถสร้าง Economy of Scale เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก
  6. ปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการผลิตการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม
  7.  มีกลไกที่ก่อให้เกิดความเสมอภาคในการเข้าสู่ตลาดภายในประเทศอย่างเป็นรูปธรรม


เกี่ยวกับวิสัยทัศน์อาเซียน

ภูมิหลังก่อนการเป็นอาเซียน

          ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอาเซียนเริ่มมีเป้าหมายชัดเจนที่นำไปสู่การรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาค นับตั้งแต่การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 ณ สิงคโปร์ เมื่อปี 2535 ที่ผ่านมา โดยมีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ขึ้น ซึ่งนับนั้นมากิจกรรมของอาเซียนได้ขยายครอบคลุมไปทุกสขาหลักท่งเศรษฐกิจ รวมทั้งในด้านการค้าสินค้าและบริการ การลงทุน มาตรฐานอุตสาหกรรมและการเกษตร ทรัพย์สินทางปัญญา การขนส่ง พลังงาน และการเงินการคลัง เป็นต้น ทั้งนี้โดยมีการกำหนดทิศทางโครงร่างและแผนงานความร่วมมือ ตลอดจนระยะเวลาบรรลุผลที่ชัดเจนภายใต้วิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ.2020 และแผนปฏิบัติการฮานอย ซึ่งกำหนดเป้าหมายที่จะให้อาเซียนเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีการหมุนเวียนของสินค้า การบริการ และการลงทุนอย่างเสรี จนถึงปัจจุบันความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนได้ขยายเพิ่มขึ้นทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึกด้วยดีต่อไปอีกด้วย
          อย่างไรก็ตาม อาเซียนก็ได้พยายามขยายกรอบความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจออกไปสู่สาขาอื่นๆ และกระชับความร่วมมือในกรอบต่างๆที่มีอยู่แล้วให้เป็นผลมากขึ้น รวมทั้งพยายามเร่งรัดและขยายร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศนอกภูมิภาค โดยเฉพาะกับจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ (ASEAN+3) ในสาขาต่างๆที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเงินและการคลัง

ทิศทางอนาคต

          เพื่อให้อาเซียนสามารถเผชิญกับสิ่งท้าทายต่างๆในสภาวะที่การแข่งขันทางเศรษฐกิจที่ทวีความเข้มข้นขึ้น และในขณะเดียวกันเพื่อเป็นการเสริมสร้างรากฐานแห่งความร่วมมือของประเทศในภูมิภาคในกรอบอาเซียน
          อาเซียนจำเป็นต้องผลักดันความร่วมมือในสาขาต่างๆให้มีความก้าวหน้าขึ้น และตอบสนองต่อความต้องการที่แท้จริงของประชาชน รวมทั้งเร่งลดช่องว่างความแตกต่างระดับการพัฒนาภายในอาเซียนระหว่างประเทศสมาชิกดั้งเดิมกับประเทศสมาชิกใหม่ โดยให้ความสำคัญในเรื่องต่างๆ เช่น ผลักดันการรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อการขยายการค้าภายในภูมิภาคและชักจูงการลงทุนจากต่างชาติ ซึ่งหมายความว่าจะต้องมีการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ความตกลงทางเศรษฐกิจของอาเซียนอย่างต่อเนื่องและต้องมีการพิจารณาแนวทางความร่วมมือรูปแบบใหม่ๆที่จะใช้เป็นพื้นฐานของความร่วมมืออาเซียนต่อเนื่องจากกรอบความร่วมมือต่างๆที่มีการจัดตั้งอยู่แล้ว เช่น AFTA  และ AIA
          เสริมสร้างการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับประเทศ/กลุ่มประเทศนอกภูมิภาคเพิ่มเติมจากกรอบ APEC และกับสหภาพยุโรปกรอบ ASEM โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศในเอเชียตะวันออกในกรบ ASEAN+3 : East Asia Cooperation ซึ่งเป็นดำริจากที่ประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำอาเซียนและผู้นำจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2542 ที่ผ่านมาและการพัฒนาความร่วมมือกับเขตเศรษฐกิจอื่นๆ อิ เขตเศรษฐกิจระหว่างออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (CER) และกลุ่มประเทศละตินอเมริกา เป็นต้น และยังได้เร่งรัดความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศลุ่มน้ำโขง โดยรณรงค์ให้ช่วงระหว่างปีค.ศ.2000-2010 เป็นทศวรรษแห่งความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในลุ่มน้ำโขง เพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศสมาชิกใหม่และสนับสนุนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ให้สอดคล้องกับตลาดของอาเซียน ทั้งนี้โดยระดมความร่วมมือจากประเทศนอกภูมิภาค องค์การระหว่างประเทศและภาคเอกชนในหลายๆด้านอีกด้วย
          นอกจากนี้ ความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรมและสนเทศอาเซียนนับเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนชาวอาเซียน ตลอดจนปลุกจิตสำนึกในความเป็นอาเซียน (ASEAN Awareness) รวมถึงความร่วมมือทางด้านสังคมในกรอบอาเซียนได้พัฒนามาเป็นลำดับตามสภาพแวดล้อม ความต้องการของประเทศสมาชิก และกระแสของโลกาภิวัฒน์  ซึ่งเป็นผลให้อาเซียนมีการจัดตั้งกลไกความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและความจำเป็นที่จะต้องมีการร่วมมือในระดับภูมิภาค ได้แก่ การพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจน โครงข่ายรองรับทางสังคม อาชญากรรมข้ามชาติและสวัสดิการสังคมและการพัฒนาสังคม ทั้งนี้เพื่อมุ่งผลักดันให้อาเซียนบรรลุเป้าหมายในการเป็นสังคมที่เอื้ออาทรต่อกันตามวิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ.2020 (พ.ศ.2563) และประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของการร่วมมือด้านสังคมเพื่อสันติสุขในภูมิภาคจึงผลักดันให้อาเซียนกระชับความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาข้ามชาติ อาทิ อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ปัญหายาเสพติดและการฟอกเงิน โรคเอดส์ การลักลอบเข้าเมือง รวมทั้งความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การแก้ไขปัญหาหมอกควัน เป็นต้น
          นอกจากนั้น ไทยยังได้เสนอให้มีการจัดตั้งมูลนิธิอาเซียนเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและนักวิชาการ ตลอดจนการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมต่างๆของอาเซียน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างจิตสำนึกในความเป็นอาเซียน และการให้ความสำคัญต่อเรื่องการจัดทำโครงข่ายรองรับทางสังคม เพื่อบรรเทาผลกระทบทางด้านสังคมจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในปัญหาความยากจน การว่างงาน ปัญหาเด็กนอกโรงเรียนและผู้ยากไร้ โดนในการนี้ไทยยังมีนโยบายในอันที่จะพยายามกระตุ้นให้อาเซียนเป็นสังคมเปิดและมีความเอื้ออาทร มีจิตสำนึกในความเป็นชุมชนหนึ่งเดียว ไทยได้ส่งเสริมความไพบูลย์มั่งคั่งร่วมกัน โดยการพัฒนามนุษย์โดยรวม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาร่วมกัน โดยการพัฒนามนุษย์โดยรวม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสังคมในระยะยาว การสร้างผู้นำรุ่นใหม่ในภูมิภาค โดยใช้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD) เป็นกลไกในการลดช่องว่างระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและส่งเสริมการรวมตัวของอาเซียน โดยที่ผ่านมา ไทยได้ผลักดันให้อาเซียนมีมติรับรองให้ปี พ.ศ.2545-2546 เป็นปีแห่งการปลุกจิตสำนึกในการต่อต้านยาเสพติดในอาเซียน และสนับสนุนให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 7 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 รับรองปฏิญญาที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 7 ว่าด้วยโรคเอดส์ เนื่องจากปัญหาทั้งสองได้ก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองทรัพยากรแก่ประเทศไทยในการแก้ไขเป็นจำนวนมาก และจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือระดับภูมิภาคในการควบคุมปัญหาดังกล่าวให้มีผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิผล
          ทั้งนี้หากอาเซียนสามารถสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้สำเร็จ ไทยจะได้ประโยชน์จากการขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้า และเปิดโอกาสการค้าบริการในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็ง เช่น การท่องเที่ยว โรงแรมและภัตตาคาร สุขภาพ ฯลฯ ซึ่งอาเซียนยังมีความต้องการด้านการบริการเหล่านี้อีกมาก และยังจะช่วยเสริมสร้างโอกาสในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมายังอาเซียน ซึ่งจะเพิ่มอำนาจการต่อรองของาเซียนในเวทีการค้าโลก และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในอาเซียนโดยรวมอีกด้วย และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในอาเซียนโดยรวมอีกด้วย

ความสำเร็จของอาเซียนและประโยชน์ต่อประเทศไทย

          การรวมตัวกันของประเทศสมาชิก ในกลุ่มอาเซียน ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม ซึ่งแน่นอนว่าผลกระทบที่ประเทศสมาชิกได้รับ ย่อมเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งประเทศไทยเองก็ได้รับประโยชน์อย่างมากจากการร่วมกลุ่มอาเซียน

ความสำเร็จของอาเซียนและประโยชน์ต่อประเทศไทย
            กว่า 41 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่การก่อตั้งองค์กร ผลงานของอาเซียน ถือได้ว่าประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่ายในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา และด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งในภาพรวม สามารถสรุปได้ดังนี้

                1) ด้านการเมืองและความมั่นคง: ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียนที่เกิดขึ้น อาทิ สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และความตกลงเพื่อสร้างอาเซียนให้เป็นเขตแห่งสันติภาพ อิสรภาพและความเป็นกลาง มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ เสถียรภาพและสันติภาพของภูมิภาค รวมถึงสร้างกลไกในการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี สร้างบรรทัดฐานทางการเมืองและความมั่นคงร่วมกัน (เช่น การไม่สะสมอาวุธนิวเคลียร์และการไม่ใช้กำลังในการแก้ไขปัญหา) และช่วยป้องกันความแย้งไม่ให้เกิดขึ้นในภูมิภาค นอกจากนี้ อาเซียนยังประสบความสำเร็จในการดึงดูดประเทศมหาอำนาจหลายประเทศให้เข้าร่วมหารือและมีความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงร่วมกับอาเซียน โดยเฉพาะการจัดตั้งกลไก การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งถือเป็นด้านการเมืองและ ความมั่นคงเพียงที่เชื่อมประเทศทั้งสองภูมิภาคเข้าด้วยกันซึ่งมีทั้งสหรัฐฯ จีน รัสเซียและสหภาพยุโรป เข้าร่วมอยู่ด้วย

                 2) ความสำเร็จด้านเศรษฐกิจ: อาเซียนได้วางรากฐานของการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจในภูมิภาคโดยการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) และการมีความตกลงกันทางเศรษฐกิจในด้านอื่นๆ เช่น การคมนาคม การท่องเที่ยว การเงิน และการลงทุน ทั้งนี้ ก็เพื่อเพื่อส่งเสริมให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว มีการเคลื่อนย้ายเงินทุน สินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือระหว่างประเทศสมาชิกโดยเสรี ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน ลดช่องว่างของระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียน และส่งเสริมให้อาเซียนสามารถรวมตัวเข้ากับประชาคมโลกได้อย่างไม่อยู่ในภาวะที่เสียเปรียบ ซึ่งความร่วมมือเหล่านี้ก็มีความคืบหน้าเป็นลำดับ ดังจะเห็นได้จากราคาสินค้าในหลายรายการที่ผลิตและค้าขายภายในประเทศสมาชิกอาเซียนมีราคาลดลงถูกลง ในขณะที่มีคุณภาพดีขึ้น หรือการที่พลเมืองของหลายประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถไปท่องเที่ยวในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นอีกหลายประเทศโดยไม่ต้องใช้วีซ่า เป็นต้น นอกจากนี้ อาเซียนยังประสบความสำเร็จในการมีความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศภายนอกภูมิภาค โดยเฉพาะประเทศหรือกลุ่มประเทศที่เป็นคู่เจรจาของอาเซียน อีกด้วย

                 3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม: อาเซียนมีความร่วมมือกันเป็นจำนวนมากในเรื่องที่เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม เช่น เรื่องการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากยาเสพติดและโรคเอดส์ การป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ และโรคติดต่อร้ายแรง ซึ่งความร่วมมือเหล่านี้ต่างก็มีความคืบหน้าเป็นลำดับ อาทิ การมีความตกลงว่าด้วยการแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามชาติที่เกิดจากไฟป่า การมีมาตรการร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาโรคซาร์ส และไข้หวัดนก และการดำเนินการเพื่อทำให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่ปลอดยาเสพติดภายในปี 2558 เป็นต้น



            ในภาพรวม ไทยได้รับประโยชน์เป็นอย่างมากจากความร่วมมือด้านต่างๆ ของอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์จากการที่ภูมิภาคมีเสถียรภาพและสันติภาพอันเป็นผลจากกรอบความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักลงทุนต่างชาติเดินทางเข้ามาลงทุนและท่องเที่ยวในประเทศไทย การที่ไทยสามารถส่งออกไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนได้มากขึ้น และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง รวมถึงการมีนักท่องเที่ยวจากประเทศสมาชิกอาเซียนเดินทางยังประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลมาจากการมีกรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียน และการที่ไทยสามารถแก้ไข

                 ปัญหาที่มีผลกระทบต่อสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น โรคระบาด เอดส์ ยาเสพติด สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ และอาชญากรรมข้ามชาติ อันเป็นผลมาจากการมีความร่วมมือทางด้านสังคมและวัฒนธรรมของอาเซียน ซึ่งหากไม่มีแล้ว ก็คงเป็นการยากที่ไทยจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้โดยลำพัง